วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของสำนวนไทย


       สำนวนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
 
        หนังสือสุภาษิตพระร่วงก็มีเนื้อหาเป็นสำนวนไทยที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากมาย เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ 

        หนังสือกฎมณเฑียรบาลของเก่า ก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในวรรณคดีไทยต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่มากมาย เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ และราชาธิราชเป็นต้น 

        สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ

ความหมายของสำนวนไทย


           เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเป็นพวกเจ้าบทเจ้ากลอน จะพูดจาหรือสั่งสอนใคร ก็มักจะอ้างเอาสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่พูดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณมาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมอ ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
     ที่สำคัญ สำนวนไทยยังมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการดึงเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเปรียบเทียบ ดังนั้น เราอาจพูดได้ว่า สำนวนไทยมีความผูกพันกับชีวิตของเราอย่างใกล้ชิด และยังให้ข้อคิดสอนใจ ซึ่งสำนวนไทยนั้นมีอยู่มากมาย แต่เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายของ สำนวนไทย บางคำ หรือบางประโยค แม้จะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม วันนี้ กระปุกดอทคอม มีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
        
สำนวน คือ คำพูดเป็นขั้นเชิง ไม่ตรงไม่ตรงมา แต่ใช้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ 
          สำนวน หมายถึง สำนวน หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเป็น โวหาร บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร คำพูดของมนุษย์เราไม่ว่าจะชาติใดหรือภาษาใด แยกออกได้กว้างๆ เป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งพูดตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที อีกอย่างหนึ่งพูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ ผู้ฟังอาจเข้าใจความหมายทันที หรืออาจจะไม่เข้าใจความหมายโดยทันที ต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้วเข้าใจอย่างอื่นก็ได้ หรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ คำพูดเป็นชั้นเชิงนี้ เราเรียกกันว่า สำนวน คือ คำพูดเป็นสำนวน ชาวบ้านจะเรียกว่า พูดสำบัดสำนวน
          สำนวน คือ "โวหาร ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษ คือ มีขั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด"
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
          สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
          สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ 





ประโยชน์ของสำนวนไทย

           สำนวนไทยทุกสำนวน จะมีความหมายอยู่ทุกสำนวนทั้งที่บอกความหมายโดยตรง และสำนวนที่มีความหมายแอบแฝงอยู่ สำนวนมีประโยชน์ดังนี้ 

1. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


2. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน 


3. ทำให้เยาว์ชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น 


4. ช่วยขัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น

ลักษณะสำนวนไทย


ลักษณะของสำนวนไทยนั้น มีทั้งประเภทเสียงสัมผัสคล้องจองกัน และ แบบไม่มีเสียงสัมผัส
            1 . ประเภทมีเสียงสัมผัส
                ∗ ๔ คำสัมผัส
                ∗ ๖- ๗ คำสัมผัส
                ∗ ๘- ๙ คำสัมผัส
            2. ประเภทไม่มีเสียงสัมผัส
                ∗ ๒ คำเรียงกัน
                ∗ ๓ คำเรียงกัน
                ∗ ๔ คำเรียงกัน
                ∗ ๕ คำเรียงกัน
                ∗ ๖- ๗ คำเรียงกัน

สาเหตุที่เกิดสำนวนไทย


     1.ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอ
กับความรู้สึกจึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย 
ความหมายเดิม 
ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอกับ
ความรู้สึกจึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย 
ความหมายเดิม

        2. หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำ ซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิดความ

ไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่องเท่ง เสร็จ เสียชีวิต
 ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบา ไปยิงกระต่าย 
ไปเก็บดอกไม้ หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิด
ความไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่องเท่ง เสร็จ
 เสียชีวิต ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ 
ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบาไปยิงกระต่าย ไปเก็บดอกไม้

        3. เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม ทรงเครื่อง

หรือทรงพระเครื่องใหญ่ เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม
ทรงเครื่อง หรือทรงพระเครื่องใหญ่

        4. ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ ตัวอย่างเช่น กุ้งแห้งเดินมาแล้ว

(อาจหมายถึงคนผอมแห้ง)ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ ตัวอย่างเช่น 
กุ้งแห้งเดินมาแล้ว (อาจหมายถึง คนผอมแห้ง)

สำนวนไทยหมวดอักษร ก


กบในกะลาครอบ
- คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น
ตัวอย่าง
"เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ"
กรวดน้ำคว่ำขัน
- ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป
ตัวอย่าง
"เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันน่ะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"
กระดูกร้องไห้
- การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ
ตัวอย่าง
"คดีฆาตกรรมนี้เหมือนกระดูกร้องไห้เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับตัวฆาตกรได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว"
กระต่ายตื่นตูม
- ตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ
ตัวอย่าง
"เธออย่าทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปหน่อยเลย เรื่องมันยังไม่เกิด อาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดก็ได้"
กระต่ายหมายจันทร์
- ชายที่หลงรักหญิงที่สูงส่งกว่าตนและไม่มีทางที่ความรักจะสมหวัง
ตัวอย่าง
"เขาทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ หลงรักลูกสาวเศรษฐี คงจะสมหวังอยู่หรอก"
กระโถนท้องพระโรง
- ผู้ที่ใครๆก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน
ตัวอย่าง
"เอะอะก็มาลงที่ฉัน ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงนะ"
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
- การทำอะไรสองอย่างพร้อมกันโดยไม่รอบคอบหรือชักช้า อาจเกิดความเสียหายได้
ตัวอย่าง
"ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากำลังรุนแรงขึ้น น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด เด็กอาจติดยาไปแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้"
กินน้ำใต้ศอก
- เสียเปรียบ จำต้องเป็นรอง คอบรับเดนคนอื่น
ตัวอย่าง
"ถึงจะรักเขามากแค่ไหนฉันก็ไม่ยอมกินน้ำใต้ศอกใคร "
กินน้ำเห็นปลิง
- ตะขิดตะขวงใจเมื่อจะทำอะไรซักอย่าง
ตัวอย่าง
"จะให้เราเลือกเขาเป็นศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างไร มันเหมือนกินน้ำเห็นปลิงเพราะรู้ทั้งรู้ว่าเขาฉ้อราษฎร์บังหลวง"
เกลือเป็นหนอน
- คนในบ้านหรือพวกเดียวกัน คิดคดทรยศ
ตัวอย่าง
"แผนการที่เราวางไว้ฝ่ายตรงข้ามรู้หมด สงสัยเกลือเป็นหนอน"

สำนวนไทยหมวดอักษร ข


ขนทรายเข้าวัด
- ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำ หรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวม
ตัวอย่าง
"คุณหญิงท่านจัดงานคอนเสิร์ตครั้งนี้เพื่อขอรับบริจาคเงินให้มูลนิธิของโรงพยาบาลซึ่งท่านเป็นกรรมการอยู่ด้วย เหมือนขนทรายเข้าวัด ช่วยๆกันไปเถอะ เป็นสาธารณกุศล"
ขนมพอสมกับน้ำยา
- เสมอกัน
ตัวอย่าง
"พูดกันตรงๆ ฉันว่าคู่นี้มันขนมพอสมกับน้ำยา อย่าไปเข้าข้างคนไหนเลย"
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
- ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน
ตัวอย่าง
"เธอมีเงินติดกระเป๋าตั้งหลายหมื่น ขอยืมมาซื้อของก่อนซักห้าร้อย ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอกน่ะ"
ขวานผ่าซาก
- พูดตรงเกินไปโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล
ตัวอย่าง
"เขาเป็นคนพูดขวานผ่าซาก เจ้านายจึงไม่โปรด"
ข้าวยากหมากแพง
- สภาวะขาดแคลนเกิดความอดอยาก
ตัวอย่าง
"สมัยสงครามข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนไม่น้อย"
ข้าวใหม่ปลามัน
- อะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี
ตัวอย่าง
"ได้หัวหน้างานคนใหม่อะไรก้ดีไปหมด กำลังข้าวใหม่ปลามัน"
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
- ลงแรงมากแต่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่า
ตัวอย่าง
"การประชุมครั้งนี้เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน เสียงบประมาณไปมากมายแต่หาข้อยุติไม่ได้"
เข้าตามตรอกออกตามประตู
- ทำตามธรรมเนียม ประเพณี
ตัวอย่าง
"ถ้าเขารักลูกจริง ก็ให้สู่ขอตามประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะเรียกร้องอะไร"
เข้าเนื้อ
- ขาดทุน เสียเปรียบ
ตัวอย่าง
"ขายของต้องคำนวณต้นทุนให้ดีถ้าตั้งราคาผิดอาจต้องเข้าเนื้อ "
เขียนเสือให้วัวกลัว
- ทำเป็นขู่ให้เสียขวัญหรือเกรงขาม
ตัวอย่าง
"ไม่ต้องเอาคนใหญ่คนโตมาอ้างกับฉัน อย่ามาเขียนเสือให้วัวกลัว ไม่สำเร็จหรอก"

สำนวนไทยหมวดอักษร ค


คนดีผีคุ้ม
- คนทำดีมักไม่มีภัย
ตัวอย่าง
"นายอำเภอแหวนเพชรคนนี้ ดูแลราฎรใกล้ชิดไปหาได้ทุกเวลาทั้งกล้าหาญออกปราบโจรจนราบคาบ พวกอันธพาลหาทางเก็บแต่ไม่สำเร็จคล้าดแคล้วทุกที คนดีผีคุ้ม"
คมในฝัก
- ผู้มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก้ไม่แสดงออกมาให้ปารกฎ
ตัวอย่าง
"เขาเป็นคนเฉยๆแต่เมื่อแสดงความคิดเห็นออกมาครั้งใดทุกคนยอมรับ นี้แหละคนคมในฝัก"
คลุมถุงชน
- การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดให้โดยที่ผู้แต่งงานไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีโอกาสเลือกคู่ครองเอง
ตัวอย่าง
"ทุกวันนี้การแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่มีแล้วเพราะ พ่อแม่บังคับลูกไม่ได้เหมือนสมัยก่อน"
คว้าน้ำเหลว
- การทำสิ่งใดด้วยความตั้งแล้วไม่สำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
ตัวอย่าง
"ข่าวว่ามีกรุสมบัติของสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซ้อนอยู่ในถ้ำลิเจียจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้มีผู้พยายามไปขุดหาสมบัติเหล่านี้หลายครั้งหลายหน แต่ก็คว้าน้ำเหลวทุกที"
คว่ำบาตร
- ประกาศไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วยไม่ร่วมงานด้วย
ตัวอย่าง
"สหประชาชาติประกาศคว่ำบาตรประเทศนั้นกรณีลุกลามประเทศอื่น "
คางคกขึ้นวอ
- คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว
ตัวอย่าง
"แต่ก่อนเคยอยู่สลัมมาด้วยกันแต่พอแต่งงานกับเศรษฐีท่าทางเธอก็เปลี่ยนไป พบหน้าเพื่อนเอก็ทำเชิดหยิ่ง ไม่ยอมทักทายทำเหมือนคางคกขึ้นวอไม่มีผิด"
คาบลูกคาบดอก
-ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก่ำกึ่งกันอยู่
ตัวอย่าง
"นักกีฬาคนนั้นชอบเตะฟุตบอลตคาบลูกคาบดอกคือเตะทั้งลูกทั้งคน "
คืบก็ทะเลศอกก็ทะเล
- อย่าประมาททะเลเพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ
ตัวอย่าง
"แต่เผอิญคืนนี้หลับไปแล้วให้เกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมาว่าคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลพลาดพลั้งเข้าก็จะอด "
คู่แล้วไม่แคล้วกัน
- คู่ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกัน เคยเป็นคู่กันมาก่อนย่อมไม่แคล้วคลาดกัน
ตัวอย่าง
"บ่าวสาวคู่นี้มีอุปสรรคมากมายกว่าจะได้แต่งงานกันแต่ทั้งคู่ก็สามารถฟันฝ่าปัญหาต่างๆมาจนมีวันนี้ได้สมกับคำที่ว่า คู่แล้วไม่แคล้วกัน"
คลื่นกระทบฝั่ง
- เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างครึกโครม ทำท่าจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่แล้วกลับเงียบหายไป
ตัวอย่าง
" คดีนี้ทำท่าจะเป็นคลื่นกระทบฝั่ง อีกสักพักคนก็ลืม"

สำนวนไทยหมวดอักษร ง


งงเป็นไก่ตาแตก
- สับสนจนทำอะไรไม่ถูก ไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
"เขาถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นเหตุยุยงภรรยาคู่นั้นแตกแยกกัน ทั้งๆที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาจึงงงเป็นไก่ตาแตก"
งอมแงม
- เลิกได้ยาก
งอมพระราม- ทุกข์เต็มทน
ตัวอย่าง
"เขาเป็นครูอาสาที่ต้องไปทำงานสอนหนังสือเด็กชาวเขาในถิ่นถุรกันดารนานถึง10ปี ต้องทนทุกข์ยากอละอุปสรรคต่างๆ อย่างแสนสาหัสเรียกว่า งอมพระรามเลยทีเดียว"
งูกินหาง
- เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้
ตัวอย่าง
"ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว"
งูๆปลาๆ
- มีความรู้เล็กๆน้อยๆ ไม่รู้จริง
ตัวอย่าง
"จะให้ไปทำงานกับฝรั่งได้อย่างไร ภาษาอังกฤษของฉันงูๆปลาๆ"
เงาตามตัว
- ผู้ที่ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด หรือ ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที
ตัวอย่าง
"ตั้งแต่คบกันเขาตามฉันทุกฝีก้าวราวกับเงาตามตัว "
เงียบเป็นเป่าสาก- เงียบสนิท
เงื้อง่าราคาแพง- ไม่กล้าตัดสินใจ
โง่แกมหยิ่ง
- โง่อวดฉลาด
โง่เง่าเต่าตุ่น- โง่ที่สุด
ตัวอย่าง
"ครูอย่าไปว่านักเรียนโง่เง่าเต่าตุ่นเชียวนะ เด็กจะเสียกำลังใจ"

สำนวนไทยหมวดอักษร จ


จมไม่ลง- เคยรุ่งเรืองใหญ่โต เมื่อตกอับก็ยังทำตัวเหมือนเดิม ไม่ยอมปรับตัวให้เหมาะกับฐานะของตน
ตัวอย่าง
"สิ้นสามีแล้วภรรยาและลูกๆยังจมไม่ลง ทำตัวเหมือนเดิม ทั้งๆทีไม่มีรายได้อะไร ไม่ช้าคงล้มละลายแน่"
จรกาหน้าหนู
- เข้าพวกกับใครไม่ได้
จระเข้ขวางคลอง- ทำตัวกีดขวางผู้อื่น จนก่อให้เกิดความรำคราญ
จับดำถลำแดง- มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง
"ฉันอุตส่าห์เลือกอย่างดีแล้ว ทำไมจึงจับดำถลำแดงไปหยิบของมีตำหนิมาได้"
จับตัววางตาย- กำหนดแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
จับปลาสองมือ
- ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันอาจไม่สำเร็จซักอย่าง
ตัวอย่าง
"เธอทำงานสำคัญหลายอย่างพร้อมกัน จับปลาสองมือแบบนี้ระวังจะชวดหมด"
จับปูใส่กระด้ง- ซุกซนไม่อยู่ในระเบียบ
จับพลัดจับผลู
- จับผิดจับถูก ไม่ได้ดังใจ
จับแพะชนแกะ
- ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้เอาอย่างนั้น
จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน- ยืนยันหาคนทำผิดไม่ได้

สำนวนไทยหมวดอักษร ช


ชักใบให้เรือเสีย
- พูดหรือทำให้คนอื่นเขวออกไปนอกเรื่อง

ตัวอย่าง
"ครูกำลังสั่งการบ้าน นักเรียนอย่าชักใบให้เรือเสียซิ เรื่องอื่นไว้คุยทีหลัง"

ชักแม่น้ำทั้งห้า- พูดจาหว่านล้อม ยกยอบุญคุณขอสิ่งประสงค์
ตัวอย่าง
"จะเอาอะไรก้บอกมาตรงๆ ไม่ต้องชักแม่น้ำทั้งห้า ขี้เกียจฟัง"
ชักใย- บงการอยู่เบื้องหลัง
ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน- ทุกข์สุข ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไป
ตัวอย่าง
"อย่าเสียใจไปเลย คราวนี้ขาดทุน คราวหน้าคงได้กำไรคนเรา ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน"
ชั่วนาตาปี
- ตลอดไป

ชาติเสือจับเนื้อกินเอง
- ไม่เบียดเบียนใคร

ชายหาบหญิงคอน- ช่วยกันทำมาหากิน
ช้างเท้าหลัง- ผู้ที่ต้องเดินตามผู้นำ อาจหมายถึงภรรยาต้องทำตามสามี
ช้างเผือกเกิดในป่า
- ผู้มีปัญหาหรือคนดีนั้นหายาก

ชุบมือเปิบ- ฉวยโอกาสจากคนอื่นโดยไม่ลงทุน

สำนวนไทยหมวดอักษร ด


ดอกพิกุลร่วง
ตัวอย่าง
" ครูถามอะไรก็ไม่ตอบ กลัวดอกพิกุลร่วงหรือยังไง "
ดอกไม้ริมทาง
- หญิงที่ชายเกี้ยวพาราสีได้ง่าย
ดาบสองคม
- สิ่งที่มีทั้งคุณและโทษ
ตัวอย่าง
" เพศศึกษาเป็นความรู้ที่เหมือนดาบสองคม ถ้าสอนให้ดีเด็กก็จะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่ระวังเด็กก็อาจจะเอาความรู้นั้นไปใช้ในทางที่ผิด กลับเป็นโทษแก่ตัวเด็กเองได้ "
ดาวล้อมเดือน
ตัวอย่าง
" ดูนายกของเราสิ มีบริวารล้อมหน้าล้อมหลังเป็นดาวล้อมเดือนเลย "
เด็กเมื่อวานซืน

มีความรู้และประสบการณ์น้อย

เด็กอมมือ
- ไม่ประสีประสา

เด็ดดอกฟ้า
- ได้หญิงสูงศักดิ์มาเป็นภรรยา
ได้น้ำได้เนื้อ
- ได้งานมาก

ได้หน้าได้ตา
- ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ
ดินพอกหางหมู

- การงานที่คั่งค้างขึ้นเรื่อยๆ

สำนวนไทยหมวดอักษร ต



ตกนรกทั้งเป็นลำบากแสนสาหัส
ตักน้ำรดหัวตอ
- แนะนำพร่ำสอนเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล
ตกเป็นเบี้ยล่าง
ตกเป็นรอง
ตบตาลวงให้เข้าใจผิด
ตบหัวลูบหลัง
- ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใน ในตอนแรก แล้วปลอบใจตอนหลัง
ต่อปาก ต่อคำเถียงกันไม่จบสิ้น
ต้นร้าย ปลายดี
- ตอนแรกไม่ดี ไปดีเอาตอนหลัง
ตัวเป็นเกลียวขยันทำงาน
ตาร้อน
- อิจฉาริษยา
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
- ใช้จ่ายทรัพย์มากมายโดยไร้ประโยชน์

สำนวนไทยหมวดอักษร น


น้ำขึ้นให้รีบตัก
- มีโอกาสดีควรรีบทำ
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
- พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย

น้ำท่วมปาก
- พูดไม่ได้เพราะความจำเป็นบังคับ

น้ำน้อยแพ้ไฟ
- ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก

น้ำผึ้งหยดเดียว
- สิ่งเล็กน้อยก็ทำให้เกิดเรื่องใหญ่ได้

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
- คนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น
- คนใดไม่ดีก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ

เนื้อเต่ายำเต่า
- การเอาทรัพย์สินส่วนตัวที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม

นกน้อยทำรังแต่พอตัว
- การจะทำสิ่งใดควรทำแต่พอสมฐานะของตนเอง
น้ำลดต่อผุด- เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ

สำนวนไทยหมวดอักษร ป


ปล่อยเนื้อปล่อยตัว
- ไม่สนใจจะแต่งตัว หรือไม่สงวนตัว
ปล่อยเสือเข้าป่า
ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลัง
ปลาข้องเดียวกัน
- คนที่อยู่ร่วมกัน หากมีคนหนึ่งทำไม่ดี ก็พลอยให้คนอื่นเสียไปด้วย
ปลาตายน้ำตื้น
- คนที่ทำพลาดเพราะเหตุเล็กน้อย
ปลาหมอตายเพราะปาก
- คนที่พูดพล่อยจนเป็นอันตรายแก่ตนเอง
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
- คนที่มีอำนาจหรือมีกำลัง เอาเปรียบผู้อ่อนแอกว่า
ปากบอน
คนที่ชอบพูดฟ้องเรื่องคนอื่น
ปอกกล้วยเข้าปาก
ทำได้ง่ายหรือสะดวก
ปั้นน้ำเป็นตัว
โกหก สร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูลความจริง
ปากว่าตาขยิบ
พูดว่าไม่ดีแต่กลับสนับสนุนหรือทำสิ่งที่ว่าไม่ดีนั้น

สำนวนไทยหมวดอักษร ม


มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
- กลับกลอกจนคนอื่นจับไม่ได้
มะนาวไม่มีน้ำ
- พูดเสียงแข็งกระด้างอย่างไม่มีน้ำใจไมตรี
มัดมือชก
- ใช้วิธีบังคับให้จำยอม
มาเหนือเมฆ
- ใช้วิธีการที่เหนือผู้อื่น
ม้าดีดกะโหลก
- มีกิริยาท่าทางกระโดกกระเดกลุกลนไม่เรียบร้อย
เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น
- เวลารวยคนเข้ามาห้อมล้อมประจบประแจง เวลาจน คนพากันตีตัวออกห่าง
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
- ไม่ช่วยทำงานแล้วยังกีดขวาง ทำให้งานไม่ก้าวหน้า
ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน
- ไม่รู้พื้นเพ ความเป็นมา
ไม่ดูดำดูดี
- เลิกเกี่ยวข้องด้วย
มากหน้าหลายตา
- มากมาย

สำนวนไทยหมวดอักษร ร


รวบหัวรวบหาง
- รวบรัดให้สั้น ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง

รอดปากเหยี่ยวปากกา
- รอดพ้นจากอันตรายมาได้

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
- จะเลี้ยงดูลูกให้ดีต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยปละละเลย

รักพี่เสียดายน้อง
- ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี

เรือล่มในหนองทองจะไปไหน
- คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น

เรือล่มเมื่อจอด
- มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสำเร็จหรือเสียคนเมื่อแก่

รีดเลือดกับปู
เคี่ยวเข็ญหรือบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ตนเองทำไม่ถูกไม่ดี แต่กลับไปซัดโทษเอาผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น

ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
คนสองคนที่ต่างก็มีอำนาจ หรืออิทธิพลยิ่งใหญ่เท่ากัน ย่อมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้

รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง
การรู้จักหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยต่าง ๆ ไปได้

สำนวนไทยหมวดอักษร ล


ลงรอยกัน
- เข้ากันได้

ล้ำหน้า
- เกินเลยไปกว่าที่ควร

เล็กพริกขี้หนู
- เล็กแต่มีความสามารถ

ล้วงคองูเห่า
คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า

ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
คนที่ดีแต่พูดแต่จะให้ทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้

เลือดขึ้นหน้า- โมโห

ลิงหลอกเจ้า
คนที่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อย แต่ลับหลังซนเป็นลิงเป็นค่าง

ลางเนื้อชอบลางยา
แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน

เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง
ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม

ลงเรือแปะ ตามใจแปะ
เมื่อไปอยู่กับใคร หรือไปอาศัยอยู่บ้านใคร ก็ต้องเกรงใจหรือยอมทำตามเขา