วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของสำนวนไทย


       สำนวนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
 
        หนังสือสุภาษิตพระร่วงก็มีเนื้อหาเป็นสำนวนไทยที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากมาย เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ 

        หนังสือกฎมณเฑียรบาลของเก่า ก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในวรรณคดีไทยต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่มากมาย เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ และราชาธิราชเป็นต้น 

        สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ

ความหมายของสำนวนไทย


           เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเป็นพวกเจ้าบทเจ้ากลอน จะพูดจาหรือสั่งสอนใคร ก็มักจะอ้างเอาสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่พูดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณมาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมอ ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
     ที่สำคัญ สำนวนไทยยังมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการดึงเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเปรียบเทียบ ดังนั้น เราอาจพูดได้ว่า สำนวนไทยมีความผูกพันกับชีวิตของเราอย่างใกล้ชิด และยังให้ข้อคิดสอนใจ ซึ่งสำนวนไทยนั้นมีอยู่มากมาย แต่เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายของ สำนวนไทย บางคำ หรือบางประโยค แม้จะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม วันนี้ กระปุกดอทคอม มีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
        
สำนวน คือ คำพูดเป็นขั้นเชิง ไม่ตรงไม่ตรงมา แต่ใช้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ 
          สำนวน หมายถึง สำนวน หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเป็น โวหาร บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร คำพูดของมนุษย์เราไม่ว่าจะชาติใดหรือภาษาใด แยกออกได้กว้างๆ เป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งพูดตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที อีกอย่างหนึ่งพูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ ผู้ฟังอาจเข้าใจความหมายทันที หรืออาจจะไม่เข้าใจความหมายโดยทันที ต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้วเข้าใจอย่างอื่นก็ได้ หรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ คำพูดเป็นชั้นเชิงนี้ เราเรียกกันว่า สำนวน คือ คำพูดเป็นสำนวน ชาวบ้านจะเรียกว่า พูดสำบัดสำนวน
          สำนวน คือ "โวหาร ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษ คือ มีขั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด"
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
          สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
          สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
          สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ 





ประโยชน์ของสำนวนไทย

           สำนวนไทยทุกสำนวน จะมีความหมายอยู่ทุกสำนวนทั้งที่บอกความหมายโดยตรง และสำนวนที่มีความหมายแอบแฝงอยู่ สำนวนมีประโยชน์ดังนี้ 

1. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


2. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน 


3. ทำให้เยาว์ชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น 


4. ช่วยขัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น

ลักษณะสำนวนไทย


ลักษณะของสำนวนไทยนั้น มีทั้งประเภทเสียงสัมผัสคล้องจองกัน และ แบบไม่มีเสียงสัมผัส
            1 . ประเภทมีเสียงสัมผัส
                ∗ ๔ คำสัมผัส
                ∗ ๖- ๗ คำสัมผัส
                ∗ ๘- ๙ คำสัมผัส
            2. ประเภทไม่มีเสียงสัมผัส
                ∗ ๒ คำเรียงกัน
                ∗ ๓ คำเรียงกัน
                ∗ ๔ คำเรียงกัน
                ∗ ๕ คำเรียงกัน
                ∗ ๖- ๗ คำเรียงกัน

สาเหตุที่เกิดสำนวนไทย


     1.ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอ
กับความรู้สึกจึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย 
ความหมายเดิม 
ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอกับ
ความรู้สึกจึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย 
ความหมายเดิม

        2. หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำ ซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิดความ

ไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่องเท่ง เสร็จ เสียชีวิต
 ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบา ไปยิงกระต่าย 
ไปเก็บดอกไม้ หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิด
ความไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่องเท่ง เสร็จ
 เสียชีวิต ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ 
ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบาไปยิงกระต่าย ไปเก็บดอกไม้

        3. เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม ทรงเครื่อง

หรือทรงพระเครื่องใหญ่ เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม
ทรงเครื่อง หรือทรงพระเครื่องใหญ่

        4. ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ ตัวอย่างเช่น กุ้งแห้งเดินมาแล้ว

(อาจหมายถึงคนผอมแห้ง)ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ ตัวอย่างเช่น 
กุ้งแห้งเดินมาแล้ว (อาจหมายถึง คนผอมแห้ง)

สำนวนไทยหมวดอักษร ก


กบในกะลาครอบ
- คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น
ตัวอย่าง
"เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ"
กรวดน้ำคว่ำขัน
- ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป
ตัวอย่าง
"เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันน่ะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"
กระดูกร้องไห้
- การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ
ตัวอย่าง
"คดีฆาตกรรมนี้เหมือนกระดูกร้องไห้เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับตัวฆาตกรได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว"
กระต่ายตื่นตูม
- ตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ
ตัวอย่าง
"เธออย่าทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปหน่อยเลย เรื่องมันยังไม่เกิด อาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดก็ได้"
กระต่ายหมายจันทร์
- ชายที่หลงรักหญิงที่สูงส่งกว่าตนและไม่มีทางที่ความรักจะสมหวัง
ตัวอย่าง
"เขาทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ หลงรักลูกสาวเศรษฐี คงจะสมหวังอยู่หรอก"
กระโถนท้องพระโรง
- ผู้ที่ใครๆก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน
ตัวอย่าง
"เอะอะก็มาลงที่ฉัน ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงนะ"
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
- การทำอะไรสองอย่างพร้อมกันโดยไม่รอบคอบหรือชักช้า อาจเกิดความเสียหายได้
ตัวอย่าง
"ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากำลังรุนแรงขึ้น น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด เด็กอาจติดยาไปแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้"
กินน้ำใต้ศอก
- เสียเปรียบ จำต้องเป็นรอง คอบรับเดนคนอื่น
ตัวอย่าง
"ถึงจะรักเขามากแค่ไหนฉันก็ไม่ยอมกินน้ำใต้ศอกใคร "
กินน้ำเห็นปลิง
- ตะขิดตะขวงใจเมื่อจะทำอะไรซักอย่าง
ตัวอย่าง
"จะให้เราเลือกเขาเป็นศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างไร มันเหมือนกินน้ำเห็นปลิงเพราะรู้ทั้งรู้ว่าเขาฉ้อราษฎร์บังหลวง"
เกลือเป็นหนอน
- คนในบ้านหรือพวกเดียวกัน คิดคดทรยศ
ตัวอย่าง
"แผนการที่เราวางไว้ฝ่ายตรงข้ามรู้หมด สงสัยเกลือเป็นหนอน"

สำนวนไทยหมวดอักษร ข


ขนทรายเข้าวัด
- ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำ หรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวม
ตัวอย่าง
"คุณหญิงท่านจัดงานคอนเสิร์ตครั้งนี้เพื่อขอรับบริจาคเงินให้มูลนิธิของโรงพยาบาลซึ่งท่านเป็นกรรมการอยู่ด้วย เหมือนขนทรายเข้าวัด ช่วยๆกันไปเถอะ เป็นสาธารณกุศล"
ขนมพอสมกับน้ำยา
- เสมอกัน
ตัวอย่าง
"พูดกันตรงๆ ฉันว่าคู่นี้มันขนมพอสมกับน้ำยา อย่าไปเข้าข้างคนไหนเลย"
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
- ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน
ตัวอย่าง
"เธอมีเงินติดกระเป๋าตั้งหลายหมื่น ขอยืมมาซื้อของก่อนซักห้าร้อย ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอกน่ะ"
ขวานผ่าซาก
- พูดตรงเกินไปโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล
ตัวอย่าง
"เขาเป็นคนพูดขวานผ่าซาก เจ้านายจึงไม่โปรด"
ข้าวยากหมากแพง
- สภาวะขาดแคลนเกิดความอดอยาก
ตัวอย่าง
"สมัยสงครามข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนไม่น้อย"
ข้าวใหม่ปลามัน
- อะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี
ตัวอย่าง
"ได้หัวหน้างานคนใหม่อะไรก้ดีไปหมด กำลังข้าวใหม่ปลามัน"
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
- ลงแรงมากแต่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่า
ตัวอย่าง
"การประชุมครั้งนี้เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน เสียงบประมาณไปมากมายแต่หาข้อยุติไม่ได้"
เข้าตามตรอกออกตามประตู
- ทำตามธรรมเนียม ประเพณี
ตัวอย่าง
"ถ้าเขารักลูกจริง ก็ให้สู่ขอตามประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะเรียกร้องอะไร"
เข้าเนื้อ
- ขาดทุน เสียเปรียบ
ตัวอย่าง
"ขายของต้องคำนวณต้นทุนให้ดีถ้าตั้งราคาผิดอาจต้องเข้าเนื้อ "
เขียนเสือให้วัวกลัว
- ทำเป็นขู่ให้เสียขวัญหรือเกรงขาม
ตัวอย่าง
"ไม่ต้องเอาคนใหญ่คนโตมาอ้างกับฉัน อย่ามาเขียนเสือให้วัวกลัว ไม่สำเร็จหรอก"